วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

โปรแกรม Multimedia Authoring Tool


ทำความรู้จักกับโปรแกรม SWiSHmax
SWiSHmax เป็นโปรแกรมทีใช้สร้างงานทางด้านกราฟฟิกของบริษัท SWiSHzone.com Pty Ltd. ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดที่พัฒนามาจาก SWiSH Version 2 นอกจากนี้ SWiSHmax ยังได้มีการแบ่งเป็นเวอร์ชันย่อยตามวันที่พัฒนาโปรแกรม โดยในที่นี้จะใช้ SWiSHmax 2004.09.10 (ตัวเลขที่ระบุ คือ ปี/เดือน/วัน ที่พัฒนาโปรแกรม) โดยผู้ใช้สามารถเลือกงานเวอร์ชันอื่นๆ ของ SWiSHmax ได้ แต่อาจจะมีลักษณะจอภาพและคำสั่งที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย สำหรบความสามารถของ SWiSHmax จะสามารถสร้างงานนำเสนอ เช่น โลโก้ โฆษณา แนบเนอร์ เมนู รวมไปถึงการสร้างเว็บไซต์แบบ Dynamic ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างงาน Animation เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวที่มีการเล่นเสียงในเวลาเดียวกันไดเหมือนกับโปรแกรม Flash แต่สามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วกว่า ดังนั้นจึงทำให้ SWiSHmax เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างงาน Animation การนำเสนองานต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ รวมถึงการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีรูปแบบที่น่าสนใจ
SWiSHmax ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้การสร้างชิ้นงานมีความหลากหลาย ทั้งการสร้างภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่สามารถใส่ Effect ได้มากกว่า 230 แบบ นอกจากนี้เราสามารถควบคุมการทำงานด้วยสคริปต์ ทำให้งานที่สร้างขึ้นเป็นไปตามความต้องการ อีกทั้งสามารถนำไปแสดงผลใน Flash Player, Browser Media และ Player
โปรแกรม SWiSHmax สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows โดยก่อนใช้ควรสำรวจคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ก่อน ว่ารองรับการทำงานของโปรแกรม SWiSHmax ได้หรือไม่ ดังนี้
1. อย่างน้อยต้องใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 9x/ME/NT/2003/XP
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี CPU เป็น Intel Pentium 300 MHz ขึ้นไป (หรือยี่ห้ออื่นที่เทียบเท่า)
3. มีพื้นที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ อย่างน้อย 7.02 MB
4. RAM อย่างน้อย 64 MB RAM แต่ถ้าจะให้คล่องตัวของแนะนำ 256 MB
5. ความละเอียดของจอภาพ 800 x 600 พิกเซล ขึ้นไปต้องแสดงสีได้ 256 สี


ลักษณะจอภาพของ SWiSHmax
เมื่อเริ่มต้นใช้งานโปรแกรมโดยคลิกเลือกที่ปุ่ม Start -> Programs -> SWiSHmax -> SWiSHmax (หรือดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน SWiSHmax บน Desktop) จะปรากฏจอภาพดังรูป




ลักษณะจอภาพ Timeline เพื่อควบคุมการทำงานได้ง่ายขึ้น โดยสามารถเพิ่ม แก้ไข หรือลบ อ็อบเจ็กต์เฟรม และ Effect ได้โดยตรง ทำให้การเปลี่ยนขนาดของ Effect หรือการเพิ่มเฟรมใหม่ให้กับอ็อบเจ็กต์ทั้งหมดทำได้ง่ายขึ้นดังรูป



การสร้างและปรับแต่ง Movie
สิ่งที่ต้องคำนึงในการสร้าง Movie คือ ขนาดของ Movie และการนำไปใช้งาน เช่น ถ้าต้องการสร้างแบนเนอร์ที่มีขนาด 200 X 200 พิกเซล และให้มีการเคลื่อนไหว เพื่อนำไปใช้งานบนเว็บเพจ เมื่อสร้าง Movie จะต้องกำหนดขนาดของ Movie เป็น 200 X 200 พิกเซล และต้องกำหนดอัตราการเคลื่อนไหว (เฟรมต่อวินาที) ของ Movie ด้วย โดยไฟล์ Movie ที่ได้จะมีนามสกุลเป็น .swi

การสร้างไฟล์ Movie ในโปรแกรม SWiSHmax สามารถทำได้โดยคลิกที่เมนู Start ->Programs -> SWiSHmax (ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน SWiSHmax บน Desktop) จะปรากฏจอภาพของโปรแกรม SWiSHmax และกรอบโต้ตอบที่ใช้เลือกลักษณะการเปิดไฟล์ ดังรูป


-Start a new empty movie เปิดไฟล์ Movie ใหม่
-Start a new movie from a template เปิดไฟล์ Movie ใหม่ โดยใช้ Template
-Work on an existing movie เปิดไฟล์ Movie ที่ได้บันทึกไว้

แต่ถ้าต้องการเปิดไฟล์ใหม่หลังจากที่เปิดโปรแกรม SWiSHmax แล้วให้ใช้คำสั่งจากเมนู File ใช้เครื่องมือจาก Standard Toolbar หรือใช้คีย์ลัดโดยกด Ctrl+N โปรแกรมจะเปิดไฟล์ใหม่ให้ โดยปิดไฟล์ Movie ที่ทำงานปัจจุบันก่อน แต่ถ้าไม่ต้องการให้ปิดไฟล์ Movie ที่ทำงานค้างไว้ ให้เปิดไฟล์ใหม่โดยคลิกที่คำสั่ง File ÒNew Windows (หรือกด Ctrl+Shift+N)


1. Main Menu
Main Menu คือ เมนูที่ใช้แสดงชุดคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม SWiSHmax เมื่อคลิกเลือกเมนูคำสั่ง จะปรากฏคำสั่งย่อยให้เลือกตามต้องการ ดังรูป




รูปแสดงจอภาพการใช้งาน Main Menu




2. Toolbars
Toolbar คือ แถบเครื่องมือที่มีไอคอนคำสั่งต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงคำสั่งได้ทันที โดยการทำงานของไอคอนคำสั่งจะเหมือนกับการใช้คำสั่งใน Main Menu ในครั้งแรกที่เปิดโปรแกรมจะมีเพียง Standard Toolbar, Insert Toolbar และ Control Toolbar แสดงอยู่บนจอภาพ แต่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้แถบเครื่องมืออื่นๆ ได้โดยการคลิกขวาบน Toolbar แล้วคลิกทำเครื่องหมายถูกหน้า Toolbar ที่ต้องการให้แสดงบนจอภาพ โดยในโปรแกรม SWiSHmax จะมี Toolbar ทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ Standard Toolbar, Insert Toolbar, Control Toolbar, Grouping Toolbar และ Toolbar ที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเองตามความต้องการ

- Standard Toolbar เป็น Toolbar ที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการกับไฟล์และข้อมูล จะมีลักษณะเช่นเดียวกับโปรแกรมพื้นฐานทั่วไป เช่น โปรแกรม Microsoft Office แต่จะมีเครื่องมือที่ต่างกัน ดังรูป




รูปแสดง Standard Toolbar



- Insert Toolbar เป็น Toolbar ที่ใช้สำหรับแทรก (Insert) อ็อบเจ็กต์ต่างๆ เช่น ข้อความ (Text) รูปภาพ (Image) และปุ่ม (Button) เป็นต้น




รูปแสดง Insert Toolbar



- Control Toolbar เป็น Toolbar ที่รวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของ Movie



แสดง Control Toolbar




- Grouping Toolbar เป็น Toolbar ที่รวบรวมเครื่องมือต่างๆ เกี่ยวกับการจัดกลุ่ม การแปลง และการแบ่งแยกอ็อบเจ็กต์


รูปแสดง Grouping Toolbar

- Export Toolbar เป็น Toolbar ที่รวบรวมเครื่องมือสำหรับการแปลงไฟล์ Movie และการทดสอบผลลัพธ์




รูปแสดง Export Toolbar


- Customize Toolbar เป็น Toolbar ที่ผู้ใช้สร้างขึ้นจากการเลือกคำสั่งต่างๆ ที่ต้องการ โดยนำมารวมกันเป็น Toolbar แล้วตั้งชื่อให้กับ Toolbar ที่สร้าง ทำให้ได้คำสั่งที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด วิธีสร้าง Toolbar มีดังนี้

วิธีการสร้าง Toolbar
1. คลิกขวาบน Toolbar เลือก Customize จะปรากฏกล่องโต้ตอบ “Customize”
2. คลิกที่แถบ Toolbar แล้วคลิกปุ่ม New เพื่อสร้าง จะปรากฏกล่องโต้ตอบ “Toolbar Name”
3. ใส่ชื่อ Toolbar แล้วคลิกปุ่ม OK จะปรากฏ Toolbar ว่างๆ ที่ไม่มีเครื่องมือใดๆ
4. คลิกที่แถบ Commands คลิกเลือกคำสั่งที่ต้องการ แล้วลากไปวางใน Toolbar ที่สร้างขึ้น
5. เมื่อใส่เครื่องมือใน Toolbar เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม Close เพื่อปิดกรอบโต้ตอบ “Customize”





รูปแสดงการสร้าง Toolbar


3. Timeline Panel
Timeline Panel เป็นส่วนที่ใช้สำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยการใส่ Effect และสคริปต์ให้กับอ็อเจ็กต์ต่างๆ Timeline Panel แบ่งออกเป็น


รูปแสดงส่วนประกอบของ Timeline Panel

4. Outline Panel
Outline Panel เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดการกับ Scene และอ็อบเจ็กต์ต่างๆ เช่น การเพิ่มและลบ Scene หรืออ็อบเจ็กต์ นอกจารนี้ยังแสดง Scene ทั้งหมด และแสดงอ็อบเจ็กต์ต่างๆ ในแต่ละ Scene โดยลักษณะจะอยู่ในรูปของแผนภาพต้นไม้ ที่มีการแบ่งลำดับชั้น ดังรูป




รูปแสดงส่วนประกอบของ Outline Panel

5. Layout Panel
Layout Panel เป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงตำแหน่งของอ็อบเจ็กต์ การจัดลักษณะและรูปทรงต่างๆ ของอ็อบเจ็กต์ที่อยู่ใน Workspace โดยใช้เครื่องมือ (Tools) ที่จัดเตรียมไว้ให้ใน Layout Panel นอกจากนี้ยังใช้ในการแสดงผลลัพธ์ของ Movie โดยภายใน Layout Panel มีส่วนประกอบดังนี้




- Workspace เป็นพื้นที่หลักที่ใช้สำหรับแสดง แก้ไข และปรับแต่งอ็อปเจ็กต์นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ ที่ใช้ดูการแสดง Movie โดยถ้าใช้ในการแสดง Movie พื้นที่ส่วนนี้จะเรียกว่า “Stage”
- Layout Title แสดงชื่อของ Scene ที่กำลังทำงานอยู่ ณ ปัจจุบัน
- Toolbox เป็นกล่องที่ใช้สำหรับบรรจุเครื่องมือในการวาดภาพต่างๆ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้สำหรับปรับแต่งอ็อบเจ็กต์ที่สร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้สำหรับเลือกและปรับมุมมองของอ็อบเจ็กต์ โดยเครื่องมือทั้งหมด
- Tool Options เป็นส่วนของเครื่องมือเพิ่มเติมที่ใช้งานร่วมกับเครื่องมือต่างๆ ใน Toolbox เพื่อปรับแต่งอ็อปเจ็กต์ที่ได้สร้างขึ้น เช่น เมื่อใช้เครื่องมือใน Toolbox วาดรูปทรงต่างๆ แล้วสามารถคลิกที่เครื่องมือเพิ่มเติมเพื่อปรับขนาดของอ็อบเจ็กต์ให้มีลักษณะตามต้องการ โดยเครื่องมือที่อยู่ใน Tool Options
-View Option เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้สำหรับปรับขนาดของ Workspace ให้เป็นไปตามต้องการโดยมีเครื่องมือ


6. Object Panel
Object Panel เป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของ Movie, Scene และอ็อบเจ็กต์ต่างๆ ที่เลือกมาใช้งาน





รูปแสดงส่วนประกอบของ Object Panel


-Object Tab เป็นส่วนที่แสดงแท็บของ Movie, Scent และ Object ต่างๆ ที่เลือก โดยจะมีแท็บพื้นฐานที่แสดงอยู่ตลอด ได้แก่ Align, Guides, Content, Export, Debug, Transform, Movie และ Tint ส่วนแท็บ Scene และอ็อบเจ็กต์ประเภทต่างๆ จะแสดงก็ต่อเมื่อมีการเลือกขึ้นมาใช้งาน โดยส่วนบนจะแสดงชื่ออ็อบเจ๊กที่กำลังทำงานอยู่
- Object Properties เป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติให้กับ Movie, Scene และอ็อบเจ็กต์ต่างๆ โดยภายในแท็บต่างๆ จะมีการกำหนดคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนี้
7.Movie Panel
ใช้กำหนดคุณสมบัติให้กับจอภาพ (Workspace) เช่น กำหนดขนาดของจอภาพ. สีของ Background เป็นต้น โดยลักษณะของ Movie Panel แสดงได้ดังรูป


รูปรายละเอียดภายใน Movie Panel


-Background Color กำหนดสี Background ให้กับจอภาพ
-Width กำหนดความกว้างของจอภาพ
-Height กำหนดความสูงของภาพ
-Frame rate กำหนดจำนวนเฟรมที่ใช้ในการแสดง
-Stop playing at end of movie กำหนดให้หยุดการแสดง Movie เมื่อจบ Movie นั้นแล้ว

8. Align Panel
ใช้สำหรับจัดรูปแบบการแสดงอ็อบเจจ็กต์หลายๆ อ็อบเจ็กต์ให้มีลักษณะเดียวกัน เช่น ชิดซ้าย ชิดขวา รวมถึงการกระจาย การเปลี่ยนขนาด

รูปแสดงรายละเอียดภายใน Align Panel


-Align เป็นการจัดวางอ็อบเจ็กต์หลายๆ อ็อบเจ็กต์ ให้อยู่ในตำแหน่งต่างๆ เช่น จัดชิดขวา จัดชิดซ้าย หรือจัดให้อยู่กึ่งกลาง เป็นต้น
-Distribute เป็นการกระจายอ็อบเจ็กต์ไปในทิศทางต่างๆ เช่น ไปทางซ้าย ทางขวา ด้านบน ด้านล่าง หรือใช้จุดศูนย์กลาง เป็นต้น
-Space evenly การจัดช่องว่างให้กับอ็อบเจ็กต์ทั้งช่องว่างระหว่างตัวอักษร ช่องว่างระหว่างบรรทัด หรือทั้งสองแบบ
-Make same เป็นการทำให้อ็อบเจ็กต์ที่เลือก มีลักษณะที่เหมือนกัน เช่น ความกว้าง เท่ากัน ความสูงเท่ากัน หรือเท่ากันทั้งความสูงและความกว้าง
-Align relative to กำหนดลักษณะความสัมพันธ์ในการจัดอ็อบเจ็กต์ เช่น การจัดอ็อบเจ็กต์ โดยให้มีผลกับอ็อบเจ็กต์ทั้งหมด หรือมีผลเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น
-Size by เลือกลักษณะการกำหนดขนาดที่ใช้ มีดังนี้
Scaling เมื่อเปลี่ยนแปลงขนาดของอ็อบเจ็กต์ Text จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขอบของอ็อบเจ็กต์และขนาดของตัวอักษรไปพร้อมกัน

9.Guides Panel ใ

ช้สำหรับกำหนดให้แสดงเครื่องมือ เพื่อช่วยให้การวาด และการจัดอ็อบเจ็กต์ต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น เช่น เส้น Guide, เส้น Grid, ไม้บรรทัด, และคำสั่ง Snap นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ได้ตามต้องการ

รูปแสดงรายละเอียดภายใน Guides

-Guides เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างเส้น เพื่อกำหนดตำแหน่งในการวางอ็อบเจ็กต์ให้ตรงกัน นอกจากนี้ยังสามารถแสดงไม้บรรทัดใน Layout Panel ได้
-Grids เป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงเส้นทั้งแนวนอนและแนวตั้ง คล้ายกับตาราง เพื่อช่วยให้สามารถจัดวางอ็อบเจ็กต์ให้ตรงกันได้ง่ายขึ้น
-Snap เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดอ็อบเจ็กต์ให้ประชิดกับเส้น Guides หรือ Gride

10. Content Panel

เป็นส่วนที่ใช้แสดงเนื้อหาทั้งหมดที่ใช้ใน Movie ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ เสียง หรือ Sprite โดยจะถูกจัดไว้ในโฟลเดอร์ Sounds, Images และ Sprites ตามประเภทของอ็อบเจ็กต์


รูปแสดงรายละเอียดภายใน Content Panel


-Import เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับนำไฟล์เสียง รูปภาพ หรือ Sprite จากภายนอกเข้ามางานใน Movie
-Reload โหลดไฟล์เข้ามาใน Movie อีกครั้ง
-Delete ลบไฟล์ที่ไม่ต้องการทิ้ง
-Properties ใช้ดูคุณสมบัติของไฟล์ต่างๆ
-โฟลเดอร์ Sounds เป็นโฟลเดอร์ที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้เก็บไฟล์เสียง
-โฟลเดอร์ Images เป็นโฟลเดอร์ที่โปรแกรมเตรียมไว้เก็บไฟล์รูปภาพ
-โฟลเดอร์ Sprites เป็นโฟลเดอร์ที่โปรแกรมเตรียมไว้เก็บไฟล์ Sprites
-Add to Scene ใช้เพิ่มไฟล์ต่างๆ เข้ามาใน Scene

11. Transform Panel
เป็นส่วนที่ใช้แสดงตำแหน่งปัจจุบันของอ็อบเจ็กต์รวมถึงขนาดและมุมมองของการหมุนรอบตามแนวแกน X และแกน Y ซึ่งสามารถปรับตัวเลขได้ตามต้องการ


รูปแสดงรายละเอียดภายใน Content Panel

12. Tint Panel
เป็นส่วนที่ใช้สำหรับปรับแต่งสีให้กับอ็อบเจ็กต์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากเมื่ออยู่ในจอภาพของการแสดง Movie เพราะสามารถเปลี่ยนสีให้กับอ็อบเจ็กต์ได้ทันที

รูปแสดงรายละเอียดภายใน Tint Panel

-Alpha ใช้สำหรับกำหนดความเข็มของสีให้กับอ็อบเจ็กต์โดยมีตัวเลือก ดังนี้
Unchanged ไม่เปลี่ยนแปลง
Transparent เปลี่ยนสีของอ็อบเจ๊กให้โปร่งใส
Custom กำหนดความเข้มของสีให้กับอ็อบเจ็กต์โดยใส่ค่าตัวเลขเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 100% และค่าต่ำสุดอยู่ที่ 0%

Advanced กำหนดความเข้มของสี โดยใส่ค่าตัวเลขตามที่ต้องการ ในรูปแบบของเปอร์เซ็นต์ หรือตัวเลข หรือใส่ทั้งสองแบบ คือ ใส่เปอร์เซ็นต์บวกกับตัวเลข

-Color ใช้สำหรับกำหนดสีให้กับอ็อบเจ็กต์โดยมีตัวเลือก ดังนี้
Unchanged ไม่เปลี่ยนแปลง
Black เปลี่ยนสีของอ็อบเจ็กต์ให้เป็นสีดำ
White เปลี่ยนสีของอ็อบเจ็กต์ใหเป็นสีขาว
Custom กำหนดสีอ็อบเจ็กต์โดยใช้ถาดสี ดังรูป
-Advanced กำหนดสีให้กับอ็อบเจ็กต์โดยใช้การผสมสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ตามค่าตัวเลขของแต่ละสี ทำให้ได้ค่าสีที่ต้องการ

ส่วนที่ 1 การใช้งานส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม SWiSHmax : http://cis-multimedia.blogspot.com/
ส่วนที่ 2 การสร้างข้อความและนำเข้าภาพกราฟฟิก : http://khoaneam.blogspot.com/
ส่วนที่ 3 การใส่เสียงและการนำเข้า Movie : http://jaruwan-aree.blogspot.com/
ส่วนที่ 4 การกำหนด Effect ให้กับ Object : http://peesontaya.blogspot.com/